ห้ามทำ 7 สิ่งนี้กับ พาสปอร์ต
หากไม่อยากให้พาสปอร์ตเสียหาย จนทัวร์ล่ม
เตือนท่านที่กำลังจะเดินทางไปต่างประเทศ ✈️ แนะนำให้ตรวจเช็คพาสปอร์ต ของท่านให้ดี เพราะ หนังสือเดินทาง (Passport) ถือว่าเป็นเอกสารราชการที่สำคัญอย่างหนึ่ง ดังนั้นข้อมูลที่ปรากฎในเล่ม หากอยู่ในสภาพที่ไม่สมบูรณ์ เช่น ข้อมูลไม่ชัดเจน ฉีกขาด เปียก หรือมีร่องรอยการขีดเขียนที่ไม่ได้มาจากเจ้าหน้าที่แล้วละก็ พี่หมีบอกเลยว่า เจ้าหน้าที่ตม. ของประเทศนั้น ๆ อาจจะไม่ให้เข้าหรือออกประเทศก็ได้นะคะ 😖 ดังนั้นควรเช็คความพร้อมก่อนเดินทางทุกครั้ง หากสงสัยว่า ต้องดูแลรักษาหนังสือเดินทางอย่างไร ไม่ให้ชำรุดเสียหาย จนไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ควรปฏิบัติตาม 7 ข้อห้าม 🙅♂️❌ ด้านล่าง ดังนี้
1. ห้ามขีด เขียน แก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงข้อมูลภายในเล่ม พาสปอร์ต ✍️🧑🎨
ห้ามวาดรูปเล่น ตกแต่ง หรือขีดเขียนอะไร ลงไปในพาสปอร์ต (Passport) ถึงจะอยากให้มันดูดี แต่ก็ทำไม่ได้นะคะ!!
หากเพื่อน ๆ ท่านใดต้องการจะแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงข้อมูล เช่น ชื่อ นามสกุล วันเดือนปีเกิด หรืออื่น ๆ แนะนำให้ติดต่อเจ้าหน้าที่ของสถานทูตหรือสถานกงสุลไทยเพื่อขอแก้ไขเท่านั้นน้า
2. ห้ามแกะ ตัด เย็บ เจาะรู หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้ปก พาสปอร์ต ได้รับความเสียหาย 🧵📌
สำหรับใครที่ชอบไฮไลท์ของพาสปอร์ต ที่มีลายเซ็นนูน มีลวดลายช้างน้อยไชโยน่ารัก เลยซนอยากจะแกะหรือแงะน้องออกมาเป็นที่ระลึกห้ามทำเด็ดขาดเลยนะ เพราะจะใช้งานไม่ได้ทันที ควรหลีกเลี่ยงการดัดแปลงหรือการใช้อุปกรณ์ต่าง ๆ กับ หนังสือเดินทาง (Passport) เพราะจะทำให้เกิดความเสียหายได้ค่ะ
3. ห้ามงอ บิด หรือกระทำใด ๆ ที่อาจทำให้พาสปอร์ตยับย่น หรือเปลี่ยนรูปไปจากเดิม
เนื่องจากเราต้องถือหนังสือเล่มนี้ไป 5 – 10 ปี แนะนำเพื่อน ๆ เก็บรักษาอย่างระมัดระวังกันนะคะ อย่าพับ หรือทำให้หนังสือยับไม่งั้นอดเที่ยวไม่รู้ด้วยนะ
4. ไม่ควรเก็บพาสปอร์ตไว้ในบริเวณที่มีสนามแม่เหล็ก หรือสนามไฟฟ้าสูง และบริเวณที่มีคลื่นความถี่วิทยุ 🧲
เพื่อน ๆ อาจจะพอทราบถึงผลกระทบจากคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเหล่านี้บ้างใช่ไหมคะ เนื่องจากปัจจุบัน พาสปอร์ต (Passport) เป็นรูปแบบ E-Passport หรือหนังสือเดินทางอิเล็กทรอนิกส์ หากเรานำไปวางใกล้อุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ คอมพิวเตอร์ หรือโทรทัศน์ หรืออุปกรณ์ที่พลังงานสูงถึงขั้นทำให้เกิดประจุไฟฟ้าได้ แม้จะยังไม่มีข่าวออกมา ก็ควรหลีกเลี่ยงไว้น่าจะดีกว่า เนื่องจากก่อให้เกิดความเสียหายได้
5. หลีกเลี่ยงการวางวัตถุสิ่งของที่มีน้ำหนักมากบนพาสปอร์ต ⚖️
วัสดุของพาสปอร์ตหรือหนังสือเดินทางนั้น ก็เป็นกระดาษชนิดหนึ่ง เช่นเดียวกับสมุด และหนังสือทั่วไป หากคุณนำของใช้ที่มีน้ำหนักมากมากดทับ หรือวางบนชั้นเล่ม ก็อาจทำให้บิด งอ หรือ อาจจะทำให้ข้อมูลภายในเกิดความเสียหายได้เช่นกันค่ะ
6. ควรเก็บพาสปอร์ตไว้ในห้องที่แห้ง อากาศเย็น ไม่อับชื้น ❄️☃️
ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้ในที่อับชื้นเป็นเวลานาน เพราะอาจจะเกิดเชื้อรา หรืออาจทำให้ปกของ พาสปอร์ต สีซีดหรือลอกได้เช่นกัน นอกจากนี้อาจจะเป็นอาหารอันแสนอร่อยของปลวกก็ได้นะคะ
7. หลีกเลี่ยงการนำพาสปอร์ตเข้าใกล้วัตถุที่มีความร้อนซึ่งมีอุณหภูมิสูงกว่า 50 องศาเซลเซียส สถานที่มีแสงแดดส่องถึงได้เป็นเวลานาน สถานที่ที่มีสภาพแวดล้อมที่เปียกแฉะ สัมผัสน้ำ หรือสถานที่ใกล้สารเคมีต่าง ๆ รวมทั้งสถานที่ที่มีฝุ่นละออง 🔥💦
หนังสือเดินทางเป็นสิ่งอ่อนไหวต่อแดด และความชื้นค่ะ ควรเก็บรักษาไว้ใช้เดินทางไปกับเรานาน ๆ เพราะแม้แต่เสื้อผ้าที่โดนแสงแดดจัด ๆ ก็ยังซีดลงเลย พาสปอร์ต ของเราก็ไม่ต่างกัน ยังไม่พอแค่นั้น ห้ามวางไว้ใกล้ที่เปียกแฉะ หรือมีสารเคมีโดยเด็ดขาด เพราะของเหลวต่าง ๆ นั้น สามารถแทรกซึมไปยังกระดาษ ทำให้หมึกที่ปั๊มข้างในนั้นเลอะ และอาจจะฉีกขาดได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้ หากเก็บไว้ในพื้นที่ที่มีฝุ่น ก็จะทำให้คุณภาพของกระดาษเสีย และเป็นอาหารที่ดึงดูดแมลงเข้ามากัดเจาะได้ด้วยน้า
หากดูแลรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำเหล่านี้อย่างเคร่งครัด หนังสือเดินทาง (Passport) เล่มนี้ ก็จะมีอายุอยู่กับเราไปนาน 5 ปี 10 ปี เลยค่ะ ซึ่งบางครั้งหากพาสปอร์ตเราเกิดชำรุดหรือเสียหาย จากหัวข้อดังกล่าว คุณอาจจะไม่สามารถใช้เดินทางได้อีก รวมถึงอาจถูกปฏิเสธเข้าประเทศนั้น ๆ หรือถูกขึ้นบัญชีดำ (Blacklist) ห้ามเข้าประเทศนั้นได้เลยนะคะ ยิ่งไปกว่านั้น ถ้าร้ายแรงมากคุณอาจจะมีสิทธ์ที่จะไม่ได้ออกจากประเทศได้ เพราะทางเจ้าหน้าที่ฝั่งไทยอาจะไม่ให้ผ่านจากด่านขาออกเลยนะ 👮👮♀️🚷 ดังนั้น กันไว้ดีกว่าแก้ดีกว่าค่ะ
ไปทัวร์กับครอบครัวพี่หมี มอบความสุข ‘ไซส์ใหญ่’ ไม่เท ไม่ทิ้ง ไปทัวร์กับพี่หมีเอ็กซ์แอล >> คลิกเลย
ถ้าชอบบทความของ XL World Tour
ฝากกด Like & Share หรือกดติดตามเพจ Facebook
เพื่ออัพเดทข่าวสาร สถานที่ท่องเที่ยว โปรแกรมทัวร์ราคาดี ๆ กับครอบครัวพี่หมีด้วยกันนะ